จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


       มลพิษทางน้ำ(Water Pollution)
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตมนุษย์ นอกเหนือจากการอุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวันแล้ว น้ำยังมีบทบาทสูงในการรังสรรค์อารยะธรรมความมั่นคงและมั่งคั่งของสังคม  มนุษย์ชาติได้ประโยชน์มหาศาลจากทรัพยากรน้ำมาโดยตลอด  แต่ในปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนน้ำ  และการเกิดมลพิษทางน้ำยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ  เนื่องจากผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่ขาดความรับรู้และจิตสำนึกรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้สถานการณ์ของทรัพยากรน้ำอาจเกิดปัญหาใหญ่ถึงขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะในด้านการขาด แคลนน้ำทั้งนี้เนื่องจาก
"  แนวโน้มที่จะเกิดภัยแล้งมากขึ้น
"  น้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีคุณภาพลดลง
"  การใช้น้ำฟุ่มเฟือยในกิจการต่าง ๆ อันได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การใช้น้ำในครัว       เรือนและธุรกิจ บริการต่าง ๆ


แหล่งกำเนิดน้ำเสีย 
น้ำเสียจากชุมชนได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน น้ำเสียนี้มีสกปรกในรูปของสารอินทรีย์สูง น้ำเสียจากอุตสาหกรรมได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนการล้างวัตถุดิบ  กระบวนการผลิตจนถึงการทำความสะอาดโรงงาน
รวมทั้งน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วแต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้อุตสาหกรรมองค์ประกอบของน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำทิ้งประเภทและขนาดของโรงงานน้ำเสียจากเกษตรกรรมได้แก่น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเพาะปลูกการเลี้ยงสัตว์ น้ำเสียจากการเพาะปลูกจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโปแตสเซียม และสารพิษต่างๆ ในปริมาณสูงส่วนน้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์จะพบสิ่งสกปรกในรูปของสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก

ผลกระทบของน้ำเสีย
"  มีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้
"  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำ และในบริเวณใกล้เคียงทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลก    ระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
"  เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและเป็นพาหนะ       นำโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช
"  ทำลายทัศนียภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้ในการคมนาคมและแหล่งท่องเที่ยว
"  เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา  ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มมาก     ขึ้น


หลักการป้องกันมลพิษทางน้ำ
เราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพที่ดีของแหล่งน้ำได้โดย
"  ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ
"  บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ
"  ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน
"  ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  ปุ๋ย  สารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรมทางเกษตรหรือสารเคมีที่ใช้ในบ้าน      เรือน
"  ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์
"  สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสีย ของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
"  สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำและประหยัด         การใช้น้ำ
ที่มาของบทความ : จิ้มที่นี้